รีวิว – 4 kings

รีวิว – 4 kings

 

 

 

สำหรับ 4KINGS พุฒิเคยถ่ายทำตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งมีความยาว 15 นาทีมาแล้วเมื่อประมาณ 7 ปีก่อน  หนังไทยน่าดูหลังจากนั้นจึงได้รับการต่อยอดให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวในที่สุด   ดูหนังออนไลน์   สำหรับเวอร์ชันภาพยนตร์ จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปในปี 2538 ดูหนังฟรี เพื่อติดตามเรื่องราวของ บิลลี่ (จ๋าย-อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี) ดา (เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ) และ รูแปง (ภูมิ รังษีธนานนท์) สามเพื่อนซี้จากอินทรที่ร่วมเป็นร่วมตายในการประจันหน้ากับสถาบันคู่อริมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น โอ๋ ประชาชล (นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต), มด ประชาชล (โจ๊ก-อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ), เอก บุรณพนธ์ (ทู-สิราษฎร์ อินทรโชติ) และ บ่าง กนก (แหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์)

 

ควบคู่ไปกับการพาผู้ชมไปสำรวจปัญหาต่างๆ ที่แต่ละคนต้องเผชิญ ไล่ตั้งแต่ บิลลี่ ที่ถูกครอบครัวไล่ออกจากบ้านเพราะชอบต่อยตีกับคนอื่นเป็นประจำ และ ดา ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวของแฟนสาว ฯลฯรีวิวหนังไทย

 

4KINGS อาชีวะ ยุค 90’s ภาพยนตร์ไทยสะท้อนปัญหาสังคมวัยรุ่นในยุค 90s ผ่านชีวิตเด็กวัยศึกษาระดับอาชีวะหรือเด็กช่างกล ผลงานการกำกับและเขียนบทเรื่องแรกของ พุฒิ พุฒิพงษ์ นาคทอง ผู้กำกับเลือดอาชีวะตัวจริง ซึ่งเปิดเผยว่าเขาใช้เวลา 7 ปีในการพัฒนาบทจากหนังสั้นจนกลายมาเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยผ่านการพูดคุยกับสมาคมศิษย์เก่าอาชีวะของทั้ง 4 สถาบันเพื่อขออนุญาตใช้ชื่อมาสร้างภาพยนตร์ การหานักแสดงและการหานายทุน และได้ค่ายเนรมิตหนังฟิล์มมาเป็นผู้อำนวยการสร้าง พร้อมด้วยโปรดิวเซอร์ ทอม  ฐณะวัฒน์ ธรรมปรีชาพงศ์ มาร่วมสนับสนุนผลักดันให้เกิดโปรเจกต์หนังเรื่องนี้โดยสมบูรณ์รีวิวหนังไทย

 

 

 

รีวิว – 4 kings ผู้กำกับเลือดอาชีวะ

 

รีวิว – 4 kings “ผมจบจากวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม ผมเรียนช่างมา แล้วช่วงนั้นพฤติกรรมคือตีกันหนักมาก มีข่าวเสียชีวิตเยอะมาก พอฟังบ่อยๆ ก็รู้สึกว่าเป็นแผลในใจ ทำไมคนมองเด็กช่างดูก้าวร้าว เกเร ไม่มีอนาคต ทุกคนสาปส่ง มองเด็กช่างไม่มีอะไรดี ก็เลยอยากทำหนังในมุมมองของเด็กช่างขึ้นมา เป็นหนังที่เล่าจากสายตาของผมจริงๆ หนังเรื่องนี้จึงไม่ได้ทำขึ้นเพื่อสนองตัณหาชอบความรุนแรง หรือเพราะความอยากเท่ห์แต่อย่างใด มันเป็นโปรเจกต์หนังที่ผมอยากทำขึ้นมาเพื่อเป็นอุทาหรณ์สะท้อนสังคม โดยถ่ายทอดผ่านชีวิตเด็กอาชีวะยุค 90s กลุ่มหนึ่ง ตีแผ่บทเรียนชีวิตที่พวกเค้าได้พบเจอ ตัวอย่างบทเรียนชีวิตที่ก้าวผิดเหล่านี้”

 

4KINGS อาชีวะ ยุค 90’s เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของกลุ่มเด็กวัยรุ่นอาชีวะจาก 4 สถาบัน ได้แก่ กนกอาชีวะ, ช่างกลบุรณพนธ์, เทคโนโลยีประชาชล (ดัดแปลงจากชื่อจริง เทคโนโลยีประชาชื่น) และ อินทรอาชีวะศึกษา ถึงแม้ภาพยนตร์จะอิงชื่อโรงเรียนจริงเกือบทั้งหมด แต่ว่าเรื่องราวในหนังเป็นเรื่องแต่งขึ้นจากประสบการณ์ของผู้กำกับพุฒิพงษ์

 

“เรื่องราวที่ผมเขียนอ้างอิงชื่อโรงเรียน ชื่อตัวละคร และเรื่องราวของบุคคลจริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นจริงประมาณ 20% นอกนั้นเป็นเรื่องราวของผมทั้งหมดที่ได้เจอตอนเรียนอาชีวะ โดยเป็นเรื่องที่เกิดกับตัวผมและเพื่อนผม เป็นสิ่งที่พวกผมได้สัมผัสมาจริงๆ แล้วมาเล่าต่อให้ฟังกัน โดยปัจจุบันสถาบันทั้งหมดได้ปิดตัวหมดแล้ว สมัยก่อน 4 สถาบันนี้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันจริงอยู่บ่อยครั้ง แต่โปรเจกต์นี้กลับเป็นจุดเริ่มต้นให้ศิษย์เก่าจากทั้ง 4 สถาบันนี้กลับมาสานความสัมพันธ์กันใหม่อีกครั้ง จนเกิดเป็นงานฟุตบอลประเพณี 4 Kings ขึ้นมาในชีวิตจริง”

 

 

“ตอนแรก 4 โรงเรียนนี้ยังไม่รวมตัวกัน ยังไม่เปิดใจซึ่งกันและกัน ผมจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันเลี้ยงของอินทรฯ ผมก็เข้าไปเดี่ยวๆ เลยครับ ศิษย์เก่าทุกคนเข้ามารุมถามผมว่า ‘มาทำอะไร’ ผมก็บอกว่าอยากทำหนังเลยมาขอข้อมูลหน่อย วันแรกเขาลองใจ เอามีดดายหญ้ามาจ่อคอผม แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรนะครับ แล้วพอไปแต่ละโรงเรียนก็จะเจอเรื่องราวคล้ายๆ กัน มีเรื่องให้ลองใจตลอด พี่ๆ เขาก็ถามว่า ‘จะทำหนังไปเพื่ออะไร’ ผมก็ถามกลับว่า ‘ทุกวันนี้พี่มีความสุขไหมที่พี่ๆ เคยทำความรุนแรง เคยทำเรื่องผิดพลาด พี่มีความสุข หรือมีความทุกข์มากกว่ากัน’ เขาก็นิ่ง ผมก็เลยบอกว่าอยากทำหนังที่ทำให้คนดูได้ฉุกคิดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับความรุนแรงได้”  4 kings ตัวจริง

“ผมอยากให้ตัดคำว่า เด็กช่าง เด็กอาชีวะ ออกไป แล้วมองว่าพวกเขาคือวัยรุ่นธรรมดาทั่วไปที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นวัยรุ่นที่แสดงพฤติกรรมผิดๆ ฉะนั้น 4KINGS จึงเป็นหนังวัยรุ่นที่อยากแสดงให้เห็นความคึกคะนองของวัยรุ่น ซึ่งแต่ละคนแสดงออกไม่เหมือนกัน เด็กช่างกลุ่มนี้แสดงออกแบบนี้ เด็กทั่วไปก็จะแสดงออกแบบหนึ่ง เราตั้งใจให้ดูในหนังว่า การแสดงออกผิดๆ มันทำให้เกิดอะไรขึ้นกับตัวเขาบ้าง แล้วเพราะคำว่า พวกพ้อง สำคัญต่อวัยรุ่น ไม่ว่าวัยรุ่นยุคสมัยไหนๆ ทุกประเทศเป็นเหมือนกันหมด คือไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าเพื่อน เพราะมันคือช่วงเวลาที่เราอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ เราไปโรงเรียนทุกวัน อยู่กับเพื่อน 5 วัน แต่อยู่กับพ่อแม่แค่ 2 วัน เอาจริงๆ สมัยก่อนการตีกันถี่กว่านี้มากครับ แทบจะตีกัน เช้า-เย็น ทุกวันเลย เพียงว่าแต่ความรุนแรงจะน้อย ปัจจุบันความถี่มันน้อยลงก็จริง แต่ความรุนแรงมันสูงมาก โอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก สมัยนี้คือเอาเป็นเอาตาย แต่อย่างที่บอกครับ อยากให้ตัดคำว่า อาชีวะ ออกไป เพราะความรุนแรงมันไม่ได้มีแค่เด็กช่าง เราจะเห็นว่า เด็กแว้น เด็กร้านเกม หรือเด็ก ม.ปลาย ก็เกิดความรุนแรงเหมือนกันหมด”

 

เรื่องราวในหนัง

 

ดัดแปลงจากเรื่องจริงอันเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของนักเรียนช่างกลต่างสถาบันในยุค 90 กลุ่มหนึ่ง ซึ่งในทุกการกระทำได้กลายเป็นบทเรียนชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อความคึกคะนองนั้นได้สร้างทั้งมิตรภาพและศัตรูขึ้นมาพร้อมๆกัน

 

 

ใช้เวลายาวนานกว่า 8 ปีกว่าจะกลายเป็นหนังเรื่องนี้

 

4KINGS อาชีวะยุค 90’s ผลงานการกำกับและเขียนบทเรื่องแรกของ พุฒิ – พุฒิพงษ์นาคทองพร้อมด้วยโปรดิวเซอร์ ทอม – ฐณะวัฒน์ ธรรมปรีชาพงศ์ซึ่งหลายคนคงได้เห็นตัวอย่างฉบับ YouTube ความยาว 15 นาทีกันมาแล้วก่อนเวอร์ชั่นดังกล่าวจะเข้าตาค่ายหนัง เนรมิตหนังฟิล์มที่เข้ามาอำนวยการสร้าง จนโปรเจกต์นี้ได้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวในปีนี้ โดยตอนนี้คลิปนี้มียอดวิวสูงถึง 9 ล้าน 6 แสนกว่าวิวเลยทีเดียว  4 kings อาชีวะยุค 90

 

หลังจากหนังในเวอร์ชั่นยูทูปนั้นเปรียบเสมือนการทำเค้าโครงของหนังเพื่อนำไปเสนอแก่นายทุน โดย 15 นาทีที่เราได้เห็นนั้นเป็นการที่ตัวผู้กำกับควักเงินของตัวเองมาลงทุนทั้งหมด ประกอบกับการที่เขาเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ การไปขายบทเฉยๆนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ต้องทำให้เจ้าของทุนเห็นภาพ โดยเขาใช้เวลาเดินทางขายงานมาเกือบ 7-8 ปีเต็ม และไปมาแทบจะทุกค่ายในประเทศไทย จนสุดท้ายค่ายเนรมิตหนังฟิล์มสนใจในที่สุด

 

รีวิว - 4 kings

 

 

หนังชีวิตที่สะท้อนวิถีคนอาชีวะ

 

4 Kings ถือเป็นหนังแนวดราม่าสะท้อนชีวิตเด็กอาชีวะ โดยกว่าจะพัฒนาบทเรื่องนี้ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง พุฒิ – พุฒิพงษ์ เดินทางเข้าหาเหล่าสมาคมสิทธิเก่าของ 4 สถาบันอาชีวะเพื่อพูดคุย ขอข้อมูล และขออนุญาตในการถ่ายทำ เขาต้องเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นปีๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมจริงที่สุด และผู้สร้างเชื่อมั่นว่าเด็กอาชีวะจะมาดูหนังเรื่องนี้เพราะมันเป็นชีวิตของพวกเขาโดยตรง

 

สิ่งที่ตัวโปรดิวเซอร์ทอม – ฐณะวัฒน์ ธรรมปรีชาพงศ์ คาดหวังคืออยากให้มีคนไปดูหนังเรื่องนี้เยอะๆ เพราะเขาอยากให้วงการหนังไทยมีอะไรที่แปลกใหม่บ้าง หลังจากที่หนังในช่วงหลังไม่กี่ปีมานี้ วนเวียนอยู่แค่ ตลก ผี รอม-คอม 3 แนวเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นกำแพงของหนังแนวนี้ก็ค่อนข้างสูงสำหรับคนไทย ใจจริงคือเขาคาดหวังอยากจะให้วัยรุ่นมาดู เพราะดูจบแล้วน่าจะได้ข้อคิดหลายๆอย่าง

 

 

จากประสบการณ์จริง และอรรถรสเสริม

 

ตัวเรื่องราวจะโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ของกลุ่มเด็กวัยรุ่นอาชีวะจาก 4 สถาบันได้แก่ กนกอาชีวะ, ช่างกลบุรณพนธ์, เทคโนโลยีประชาชล (ดัดแปลงจากชื่อจริง เทคโนโลยีประชาชื่น) และอินทรอาชีวะศึกษาถึงแม้ภาพยนตร์จะอิงชื่อโรงเรียนจริงเกือบทั้งหมด แต่ว่าเรื่องราวในหนังเป็นเรื่องแต่งจากประสบการณ์ของผู้กำกับ พุฒิ –พุฒิพงษ์นาคทอง

 

แม้ว่าเรื่องราวที่เขาเขียนขึ้นมาจะไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเองทั้งหมด มีแค่ชื่อโรงเรียน ชื่อตัวละคร และเรื่องราวของพวกเขาประมาณ 20% ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องาวที่ตัวพุฒิเคยเจอขึ้นมาในสมัยเรียนที่เขาและเพื่อนได้สัมผัสกับตัวจริงๆ ปัจจุบันสถาบันทั้งหมดปิดตัวหมดแล้ว โดยสมัยก่อน 4 สถาบันนี้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันจริงอยู่บ่อยครั้ง แต่โปรเจกต์นี้กลับเป็นจุดเริ่มต้นให้ศิษย์เก่าทั้ง 4 สถาบันนี้กลับมาสานความสัมพันธ์กันใหม่อีกครั้งจนเกิดเป็นงานฟุตบอลประเพณี 4 Kingsขึ้นมาในชีวิตจริง

 

รีวิว - 4 kings

รีวิว – 4 kings หนังดราม่าสะท้อนตราบาปของชีวิต

 

รีวิว – 4 kings หากใครคาดหวังว่ามันจะเป็นหนังดราม่าที่มาพร้อมฉากตีรันฟันแทงอันดุเดือด อาจจะต้องบอกว่าเตรียมผิดหวังกันได้เลย เนื่องจากในเรื่องค่อนข้างเน้นความดราม่าผ่านชีวิตของตัวละครเด็กอาชีวะใน 4 สถาบันหลัก ซึ่งโปรดิวเซอร์ของเรื่องมีความตั้งใจว่าอยากให้ผู้ชมนั้นมองไปถึงเจตนาของหนัง อยากให้คนได้เข้าไปดูหนังจริงๆก่อน อย่าเพิ่งเหมารวมกันไปว่านี่เป็นหนังเด็กช่างตีกันเอาความบันเทิง เพราะเจตนาที่แท้จริงที่หนังเรื่องนี้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง คือการอยากให้พวกเขาเลิกตีกัน แต่บอกตรงๆก็คงไม่ได้ ดังนั้นการใส่ฉากตีกันเข้ามาจึงเป็นจุดพลิกผันสำคัญที่จะนำไปสู่แง่คิดในเวลาต่อมา

 

นอกจากประเด็นเรื่องความเป็นสถาบันช่างกลแล้ว หนังเรื่องนี้ยังสะท้อนภาพความเป็นวัยรุ่น เพราะประเด็นทางสังคมที่แทรกสอดอยู่ในเรื่องนั้นมีความเกี่ยวโยงกับวัยฮอร์โมนพลุ่งพล่านทั้งสิ้น อาทิ เรื่องครอบครัว เรื่องมิตรภาพ เรื่องท้องก่อนวัย หรือแม้กระทั่งเรื่องยาเสพติด ซึ่งจริงๆแล้วถ้าหากตัดคำว่าเด็กช่าง หรือ เด็กอาชีวะออกไป ตัวละครในเรื่องก็คือวัยรุ่นธรรมดาที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นวัยรุ่นที่แสดงพฤติกรรมผิดๆ เต็มไปด้วยอารมณ์และความคึกคะนอง ซึ่งแต่ละคนแสดงออกไม่เหมือนกัน เด็กช่างกลุ่มนี้แสดงออกแบบนี้ เด็กทั่วไปก็จะแสดงออกแบบหนึ่ง เด็กรถซิ่งก็แสดงออกอีกอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งเด็ก ม.ปลาย ก็แสดงออกอย่างหนึ่ง แต่ทั้งหมดแล้วหากการแสดงออกแบบผิดที่ผิดทาง มันจะนำอะไรกลับมาสู่เจ้าตัวบ้าง นี่คือสาระสำคัญของหนังเรื่องนี้  ดู4 kings 2021 พากย์ไทย

 

รีวิว - 4 kings

 

นักแสดงในบทบาทเด็กอาชีวะสุดเกรียน

4KINGS อาชีวะ ยุค 90’s จัดเต็มทัพนักแสดงนำวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มนักแสดงอินดี้มาดเข้ม ทั้ง เป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ, โจ๊ก อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ, จ๋าย อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี, ทู  สิราษฎร์ อินทรโชติ, ณัฏฐ์ กิจจริต, ภูมิ รังษีธนานนท์, บิ๊ก  อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล หรือ บิ๊ก D Gerrard, เนโกะ  เนรัญชรา เลิศประเสริฐ

 

องค์ประกอบที่เราชื่นชอบมากที่สุด คือการออกแบบคาแรกเตอร์ของตัวละครทุกตัวที่มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง ไม่มีใครโดดเด่นกว่าใคร ซึ่งเราต้องขอปรบมือให้กับนักแสดงทุกคนที่ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของแต่ละตัวละครออกมาได้อย่างมีมิติ

 

เริ่มต้นที่ จ๋าย-อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี นักร้องนำวง Taitosmith ในบทบาทของบิลลี่ ที่ถูกครอบครัวผลักไสไล่ส่งเพราะชอบสร้างเรื่องเดือดร้อนอยู่เสมอ, เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ ในบทบาทของ ดา ที่รักและห่วงใยเพื่อนฝูงเหมือนเป็นครอบครัวของตัวเอง รวมถึง นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต และ โจ๊ก-อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ ในบทบาทของ โอ๋ และ มด ที่ถ่ายทอดความน่าเกรงขามและความไม่กลัวใครออกมาได้อย่างมีเสน่ห์   4 kings อาชีวะยุค 90’s เต็มเรื่อง

 

 

ส่วนนักแสดงที่เราชื่นชอบมากที่สุดและอยากกล่าวถึงเป็นการส่วนตัวคือ ภูมิ รังษีธนานนท์ ในบทบาทของ รูแปง ที่เรียกว่าเป็นตัวแย่งซีนประจำเรื่องก็คงจะไม่ผิดนัก ทั้งฝีปากและท่าทางยียวนกวนประสาท คำคมต่างๆ นานาที่ดูเหมือนจะมากเกินความพอดี แต่กลับลงตัวอย่างน่าประหลาด ไปจนถึงความใจกล้าบ้าบิ่นและความคมเข้มของเขาเมื่อต้องเผชิญกับคู่อริ ภูมิก็นำเสนอออกมาได้ดีไม่แพ้กัน เรียกได้ว่าการแสดงของภูมิในบทบาทของรูแปง คือตัวละครที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างน่าจดจำ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *